ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คำอธิบายวุฒิทางลูกเสือ

2.  C.A.T.C.  ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรองขั้นความรู้ชั้นสูง
3.  C.W.B. ผ่านการตรวจขั้นที่ 5 และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน ประเภทสำรองแล้ว
4.  S.B.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นความรู้เบื้องต้น
5.  S.A.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญขั้นความรู้ชั้นสูง
6.  S.W.B. ผ่านการตรวจขั้นที่ 5 และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน ประเภทสามัญแล้ว
7.  S.S.B.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้น
8.  S.S.A.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้ชั้นสูง
9.  S.S.W.B. ผ่านการตรวจขั้นที่ 5 และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน ประเภทสามัญรุ่นใหญ่แล้ว
10.  R.B.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญขั้นความรู้เบื้องต้น
11.  R.A.T.C. ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญขั้นความรู้ชั้นสูง
12.  R.W.B. ผ่านการตรวจขั้นที่ 5 และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 2 ท่อน ประเภทวิสามัญแล้ว
13.  A.L.T.C. ผ่านการฝึกอบรมขั้นผู้ช่วยให้การฝึกอบรม (3 ท่อน)
14.  A.L.T. ได้รับอนุมัติให้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 3 ท่อนแล้ว
15.  L.T.C. ผ่านการฝึกอบรมขั้นผู้ให้การฝึกอบรม (4 ท่อน)
16.  L.T. ได้รับอนุมัติให้ได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์ 4 ท่อนแล้ว

   วุฒิทางลูกเสือ
   C   = ลูกเสือสำรอง
    S   = ลูกเสือสามัญ
   S.S.  = ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
    R   = ลูกเสือวิสามัญ

ข้อมูลจาก  http://school.obec.go.th/wbonline วูดแบดจ์ออนไลน์

1.  C.B.T.C.   ผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรองขั้นความรู้เบื้องต้น

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เหรียญลูกเสือสดุดี

เหรียญลูกเสือสดุดี มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า "The Boy Scout Citation Medal" เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการ สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 เช่นเดียวกันกับเหรียญลูกเสือสรรเสริญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามกีรติ ลูกเสือสดุดีพิเศษ ขึ้นอีกชั้นหนึ่ง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.thaiscouts.com/coin/bsc.html

ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือเเละผู้ตรวจการลูกเสือ

     ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. ๒๕๕๑  หมวด 3  มาตรา ๔๕ ได้กำหนดตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้
 
(๑) ผู้อำนวยการใหญ่
(๒) รองผู้อำนวยการใหญ่
(๓) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่
(๔) ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๕) รองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๖) ผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
(๗) ผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) รองผู้อำนวยการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
(๑๐) รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน
(๑๑) ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
(๑๒) รองผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ
(๑๓) ผู้กำกับกองลูกเสือ
(๑๔) รองผู้กำกับกองลูกเสือ
(๑๕) นายหมู่ลูกเสือ
(๑๖) รองนายหมู่ลูกเสือ
 
เเละใน  มาตรา ๔๗ กำหนดตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือมีลำดับ ดังต่อไปนี้
 
(๑) ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ
(๒) ผู้ตรวจการใหญ่
(๓) รองผู้ตรวจการใหญ่
(๔) ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๕) รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๖) ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
(๗) ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๘) รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๙) ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
(๑๐) ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๑) รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา